ก๊อตซิลล่าที่รัก จากสัตว์ประหลาดจอมทำลายสู่การกลายเป็นสินค้าวัฒนธรรมร่วมสมัย

นรุตม์ โล้กูลประกิจ

แม้ทุกตอนที่ออกมา ก๊อตซิลล่าจะต้องทำลายบ้านเมืองอยู่ตลอด แต่คนญี่ปุ่นกลับรักและผูกพันกับก๊อตซิลล่ามากกว่าเกลียดซะอีก !!!

pdMxXw1

           

            อ.ฮิเดโตชิ ชิบะ (Hidetoshi Chiba) ผู้เชี่ยวชาญภาพยนตร์สัตว์ประหลาด (Kaiju Films) แห่ง Tokyo’s Digital Hollywood University ให้ความเห็นเกี่ยวกับ “แก่น” ของก๊อตซิลล่าและบรรดาสัตว์ประหลาดในภาพยนตร์ของ Toho ไว้ว่า แม้จะตีความได้ว่าความหมายที่ซ่อนอยู่ภายใต้ตัวก๊อตซิลล่านั้นก็คือภาพสะท้อนความร้ายกาจของระเบิดนิวเคลียร์ และภาวะต่อต้านสงครามของชาวญี่ปุ่น แต่ก็เป็นเพียงความหมายในระดับการสื่อสารเท่านั้น ความหมายที่แท้จริงของก๊อตซิลล่าและบรรดาสัตว์ประหลาดในมุมมองของชาวญี่ปุ่นที่เป็นความหมายในระดับ Ideology นั้น ก๊อตซิลล่านั้นคือตัวแทนของธรรมชาติ (Hidetoshi Chiba ใน Michael Fitzpartrick, 2014)

 

ภูเขาไฟ ภัยพิบัติ และสัตว์ประหลาด

ringoffirec ring_l

             พื้นฐานทางธรณีวิทยาของประเทศญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่บนแนวแผ่นเปลือกโลก 3 แผ่น คือ ยูเรเชียนเพลต, อินโด-ออสเตรเลียนเพลต, และแปซิฟิกเพลต ทำให้ญี่ปุ่นเป็นเกาะที่อยู่บนแนววงแหวนไฟ (Ring of Fire) ที่มักเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดอยู่ๆบ่อยๆ คนที่อาศัยอยู่จึงต้องเผชิญกับภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด คลื่นสึนามิและพายุใต้ฝุ่นมาตลอดช่วงการดำรงชีวิตและอารยธรรม ภัยพิบัติจึงกลายเป็นปรากฏการณ์สำคัญอย่างหนึ่งที่แฝงอยู่ในมโนทัศน์ของคนญี่ปุ่นมาแต่ไหนแต่ไร

            สภาพแวดล้อมเป็นเกาะภูเขาไฟที่ส่งผลให้ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับพิบัติภัยทางธรรมชาติอยู่เสมอ ทำให้ชาวญี่ปุ่นต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดและคลื่นยักษ์ การปรับตัวต่อภัยธรรมชาตินี้ได้แทรกซึมเข้าไปในระดับความคิดและโลกทัศน์ที่แสดงออกผ่านความเคารพในธรรมชาติของคนญี่ปุ่น ดังจะเห็นได้จาก ความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณธรรมชาติ หรือ “คามิ” ที่สถิตอยู่ทั่วไป ในขณะเดียวกัน หากมนุษย์ขาดความเคารพในธรรมชาติเมื่อไหร่ ก็จะถูกจิตวิญญาณของธรรมชาติลงโทษผ่านพิบัติภัยทางธรรมชาติต่างๆ

 volcano-6 map_japan_volcanoes

           ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับความเชื่อตั้งแต่ยุคบรรพกาลยังคงส่งอิทธิพลมาจนถึงยุคใหม่ โดยผลผลิตทางวัฒนธรรมต่างๆที่ญี่ปุ่นสร้างขึ้นมาใหม่นั้นยังคงปรากฏร่องรอยของความเชื่อในพลังอำนาจของธรรมชาติอยู่…Kaiju หรือ สัตว์ประหลาด ก็เช่นเดียวกัน

Great_Wave_off_Kanagawa2

            นักวิชาการญี่ปุ่นได้ตีความสัตว์ประหลาดบนฐานคิดจากตำนาน 古事記 (Kojiki) ที่กล่าวถึงกำเนิดประเทศญี่ปุ่น โดยมองว่า นัยยะของสัตว์ประหลาดยักษ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมานี้ เปรียบเสมือนกับบุตรจอมทำลายล้าง “คากุทสึชิ” เทพองค์สุดท้ายที่กำเนิดจากเทพบิดรอิซานางิกับเทพมารดรอิซานามิ ผู้ถือครองอำนาจทำลายล้างแห่งไฟที่เป็นเหมือนบุคลาธิษฐานของภูเขาไฟบนแผ่นดินญี่ปุ่น เมื่อเวลาผ่านมาถึงยุคใหม่ เทพแห่งการทำลายล้างจึงคลี่คลายกลายมาเป็นสัตว์ประหลาดยักษ์ในสื่อภาพยนตร์ ที่ยังคงความหมายถึงพลังอำนาจของธรรมชาติที่แสดงออกผ่านภัยพิบัติต่างๆ

            น่าคิดว่า สาเหตุหนึ่งที่ญี่ปุ่นปัจจุบันเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยสัตว์ประหลาดยักษ์ ฮีโร่ตัวยักษ์อย่างอุลตร้าแมน หรือขบวนการพิทักษ์โลกต่างๆที่ต้องขยายร่างมาปราบสัตว์ประหลาดยักษ์อีกที คงเป็นเพราะพื้นฐานทางความคิดเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่คนญี่ปุ่นต้องเผชิญมาตลอดนั่นเอง

 816

ก๊อตซิลล่าที่รัก

            ก๊อตซิลล่า เป็นสัตว์ประหลาดยักษ์ที่ถูกสร้างขึ้นจากพื้นฐานความคิดเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ รวมกับบริบทสังคมวัฒนธรรมในยุคหลังสงครามปรมาณูใหม่ๆเพียง 9 ปี (1954) ก๊อตซิลล่าจึงถือกำเนิดขึ้นมาด้วยความหมาย 2 ชั้น คือ “ตัวแทนพลังอำนาจของธรรมชาติ” กับ “สัตว์ประหลาดระเบิดนิวเคลียร์”

g195401

            ในมุมมองของ “คนนอก” ทั้งฝรั่งและชาติอื่นๆที่มองก๊อตซิลล่า อาจมองเห็นแค่เพียงความหมายระดับผิวเผินของราชาสัตว์ประหลาดตัวนี้ คือ การเป็นภาพตัวแทนหายนะจากสงครามนิวเคลียร์ หรือเป็นเพียงสัตว์ประหลาดยักษ์กลายพันธุ์ตัวหนึ่งเท่านั้น แต่ในมุมมองของ “คนใน” ชาวญี่ปุ่นกลับมองว่าก๊อตซิลล่าคือตัวแทนของพลังธรรมชาติ (Norman England, ใน Michael Fitzpartrick, 2014)

            ผู้เขียนมีความเห็นว่า อาจเป็นเพราะการตีความก๊อตซิลล่าใหม่ในปี 1998 ของ Roland Emmerich ที่ให้ความหมายก๊อตซิลล่าเป็นเพียง “กิ้งก่ากลายพันธุ์” จึงทำให้ได้ผลตอบรับไม่ดีเท่าที่ควร เพราะขาดจิตวิญญาณที่แท้จริงของก๊อตซิลล่าในฐานะพลังธรรมชาติ ซึ่งจะเห็นได้ว่าก๊อตซิลล่าในปี “98 เป็นเพียงสัตว์ประหลาดที่ถูกมนุษย์ทำลายลงได้

5

“มนุษย์ฆ่าสัตว์ประหลาดให้ตายได้ แต่ไม่มีวันเอาชนะธรรมชาติได้”

            แก่นแท้ของก๊อตซิลล่าที่ผูกพันธ์กับพลังธรรมชาติจึงทำให้ก๊อตซิลล่าไม่มีวันตาย มันจะกลับมาได้เสมอ ตัวหนึ่งหายไป ก็จะมีตัวใหม่กลับมาอีก แม้กระทั่งตอนอวสาน (1995) ในฉากสุดท้ายเราก็ยังได้เห็น Rebirth Godzilla ปรากฏขึ้นมาใหม่นั่นเอง

Junior_The_Heir_to_the_Throne_Godzilla_vs_Destroyah_1995_Movie_c20yug

            ราวกับว่าก๊อตซิลล่าเป็นเหมือนกับภัยพิบัติที่ชาวญี่ปุ่นคุ้นเคย และในหลายๆครั้งก๊อตซิลล่าก็ออกมาทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ญี่ปุ่นด้วย จึงทำให้ชาวญี่ปุ่นไม่เคยรู้สึกถึงความเป็นอื่น (Otherness) ในตัวก๊อตซิลล่าแต่กลับรู้สึกผูกพันมากขึ้นเรื่อยๆ การตายของมันจึงน่าเศร้ามากกว่าดีใจ ซึ่งเห็นได้จากภาคอวสานก๊อตซิลล่าในปี 1995 (แต่ก็กลับมาใหม่อยู่ดี)

            ความผูกพันและความรู้สึกในแง่บวกที่มีต่อก๊อตซิลล่าของคนญี่ปุ่นและแฟนๆก๊อตซิลล่าทั่วโลก ทำให้ก๊อตซิลล่ากลายเป็น คาแรกเตอร์ที่เป็นที่รักของบรรดาแฟนๆก๊อตจิทั่วโลก กลายเป็น icon หนึ่งของ Pop culture ที่มีพลังในระดับโลก

tumblr_ncsaa53Xlf1rl1vlfo1_1280 Godzilla_the_series_ gojira2-1333156553

            ทุกวันนี้ก๊อตซิลล่าเป็นมากกว่าคาแรกเตอร์ในภาพยนตร์สัตว์ประหลาดธรรมดาๆ แต่พัฒนาไปเป็น Brand และกลายเป็นทุนทางวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ที่แฝงอยู่ในภาพยนตร์ ในของเล่น ในหนังสือ และสื่อต่างๆอีกมากมาย ล่าสุด เราได้เห็นก๊อตซิลล่ากลายเป็นพลเมืองกิติมศักดิ์ของเขตชิบูย่าเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น (เป็นมาสคอตของเมือง?) และการเกิดขึ้นของโรงแรม Gracery Shinjuku หรือโรงแรมก๊อตซิลล่าที่แสดงให้เห็นว่า ก๊อตซิลล่าไม่ได้เป็นเพียงแค่สัตว์ประหลาดบนแผ่นฟิล์มอีกต่อไปแล้ว แต่กลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมหรือ Brand name สัญชาติญี่ปุ่นชิ้นหนึ่งที่มีอิทธิพลในระดับโลกเลยทีเดียว

godzilla2_09042015

 

ข้อมูลอ้างอิง

http://abcmundial.com/en/news/asia/characters/6466-godzilla-nominate-citizen-and-ambassador-tourism-japan/

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9F

Michael Fitzpatrick, Godzilla: Why Japan loves monster movies. (16 May 2014) http://www.bbc.com/culture/story/20140516-giant-lizard-on-the-loose